เมนู

3. อัมพัฏฐสูตร


(141) ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อม
ด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป บรรลุถึงพราหมณคามแห่งชาวโกศล
ชื่ออิจฉานังคละ. ได้ยินว่า สมัยนั้นพระองค์ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉา-
นังคลวัน
ในอิจฉานังคลคาม.
(142) ก็สมัยนั้นพราหมณ์โปกขรสาติอยู่ครองนครอุกกัฏฐะ
ซึ่งคับคั่งด้วยประชาชนและหมู่สัตว์อุดมด้วยหญ้า ด้วยไม้ด้วยน้ำ สมบูรณ์
ด้วยธัญญาหาร เป็นส่วนราชสมบัติ อันพระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทาน
เป็นการปูนบำเหน็จให้เป็นส่วนพรหมไทย. พราหมณ์โปกขรสาติได้สดับ
ข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตรทรงผนวชจากศากยสกุลแล้ว เสด็จ
จาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 500
รูป ถึงอิจฉานังคลคามโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคลวัน
ในอิจฉานังคลคาม ก็เกียรติศัพท์อันงามของท่านพระสมณโคดมพระองค์
นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ
องค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนก
พระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง

แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ให้รู้ตาม
พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้นย่อมเป็นการ
ดีแล.

เรื่องอัมพัฏฐามาณพ


(143) ก็สมัยนั่นแล อัมพัฏฐมาณพ ศิษย์ของพราหมณ์โปกขร-
สาติ
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ได้ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ1
และคัมภีร์เกตุภะ2 พร้อมทั้งประเภทแห่งอักษร มีคัมภีร์อิติหาส3 เป็น
ที่ 5 เป็นผู้เข้าใจตัวบท ช่ำชองในไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ4
และมหาปุริสลักษณะ อันอาจารย์ยอมรับและรับรองในคำสอนอันเป็น
ไตรเพท อันเป็นของอาจารย์ของตนว่า ฉันรู้สิ่งใด เธอรู้สิ่งนั้น เธอรู้
สิ่งใด ฉันรู้สิ่งนั้น. ครั้งนั้นแล พราหมณ์โปกขรสาติ เรียกอัมพัฏฐ-
มาณพ
มากล่าวว่า พ่ออัมพัฏฐะ พระสมณโคดมศากยบุตรพระองค์นี้
ทรงผนวชแล้วจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป ถึงอิจฉานังคลคามโดยลำดับ ประทับ
1. คัมภีร์ว่าด้วยชื่อของสิ่งของต่าง ๆ มีต้นไม่เป็นต้น.
2. คัมภีร์ว่าด้วยวิชาการกวี ศาสตร์ที่เป็นอุปกรณ์แก่กวี.
3. คัมภีร์ที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์พงศาวดาร มีมหาภารตยุทธเป็นต้น ซึ่งประพันธ์กันไว้
แต่โบราณกาล นับเป็นคัมภีร์ที่ 5 คือนับคัมภีร์อิรุพเพทเป็นที่ 1 คัมภีร์ยชุพเพทเป็น
ที่ 2 คัมภีร์สามเพทเป็นที่ 3 และคัมภีร์อาถรรพเพทเป็นที่ 4 คัมภีร์อิติหาสนี้ จึงนับ
เป็นที่ 5.
4. คัมภีร์ว่าด้วยเรื่องไม่น่าเชื่อต่าง ๆ.